สถานการณ์เงินเฟ้อในแคนาดาและโอกาสของผู้ส่งออกไทย

สถานการณ์เงินเฟ้อในแคนาดาและโอกาสของผู้ส่งออกไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 มิ.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 8 มิ.ย. 2565

| 437 view

     สถานการณ์เงินเฟ้อในแคนาดายังคงไม่ดีขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อขึ้นไปเเตะจุดสูงสุดในรอบ 31 ปีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ราคาสินค้า โภคภัณฑ์และวัตถุดิบในการผลิตได้ปรับตัวสูงขึ้นสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่สูงขึ้น การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายการรับมือโควิด-19 ของหลายๆประเทศ เช่น จีนการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ของผู้บริโภคช่วงที่เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 รวมไปถึงสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้ข้าวสาลีสูงขึ้นเนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก โดยปัจจัยทั้งหมดนี้ได้นำไปสู่ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น 10% (ราคาเส้นพาสต้า ผลไม้สด และกาแฟ เพิ่มขึ้น 20%, 10%, และ 14% ตามลำดับ) ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเห็นได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI Index) ที่สูงขึ้นถึง 6.8% จากเดือนเมษายนปีที่แล้ว (2564) และการที่ค่าจ้างรายชั่วโมงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้หลายครัวเรือนมีอุปสรรคทางการเงินเพิ่มมากขึ้น นอกจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ราคาที่อยู่อาศัยยังเพิ่มขึ้น 7.4% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นประจำปีครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบสี่ทศวรรษ โดยค่าเช่าเพิ่มขึ้น 4.5% โดยเฉพาะในเขตจังหวัดออนแทรีโอ (5.3%) และบริติชโคลัมเบีย (6.4%) และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 36% จากปีก่อนหน้า เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งที่จะเพิ่มแรงกดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นต่อไป.....

อ่านต่อ คลิกที่นี่

เอกสารประกอบ

สถานการณเงินเฟอในแคนาดาและโอกาสของผูสงออกไทย.pdf