โอกาสการศึกษาในแคนาดา

โอกาสการศึกษาในแคนาดา

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 มี.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 5,969 view

สิ่งที่ควรรู้ก่อนไปเรียนต่อในแคนาดา

 

          สำหรับพ่อแม่ส่วนใหญ่ที่มีแผนการจะส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศ ดิฉันขอแนะนำให้ท่านพิจารณาประเทศแคนาดาเป็นหนึ่งในตัวเลือกหลักแก่บุตรหลานของท่านด้วยค่ะ

          ทั้งนี้เพราะแคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรฐานการศึกษาสูงเทียบเท่ากับประเทศอื่นในอเมริกาเหนือ และยุโรป หรือออสเตรเลีย แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าเล่าเรียนแล้ว ค่าเล่าเรียนในแคนาดาต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ประเทศก็น่าอยู่ สะอาด มีภูมิประเทศที่สวยงาม ผู้คนมีน้ำใจดี และปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคนาดาต้อนรับผู้คนทุกชนชาติ ส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ

          สำหรับคนที่กลัวความหนาวนั้น ไม่ต้องเป็นห่วงกับความหนาวเย็นมากนัก ในสถานศึกษา บ้าน และหอพักทั่วไป มีเครื่องทำความอุ่นที่ประสิทธิภาพสูง  เรื่องอากาศหนาวนั้นเป็นเรื่องที่เคยชินและปรับตัวได้ไม่ยาก  การที่มีฤดูหนาว ก็มีโอกาสที่จะมีหิมะตกด้วย  เมื่อหิมะตกลงมาจะทำให้มีทิวทัศน์งดงามแตกต่างไปจากประเทศเมืองร้อน  อีกทั้งมีโอกาสได้เล่นกีฬาที่หาเล่นได้ยากในประเทศอื่น เช่น สกี สเก็ตน้ำแข็ง เป็นต้น

          ในระบบการศึกษาในแคนาดา นโยบายด้านการศึกษากำหนดโดยแต่ละรัฐ (Province) ดังนั้น ขั้นตอนการสมัครอาจมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ก่อนจะตัดสินใจเข้าศึกษาในประเทศแคนาดา กรณีเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีนักเรียนจะต้องเลือกมหาวิทยาลัย โดยหาข้อมูลว่ามหาวิทยาลัยมีข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครอย่างไร ระบบการศึกษา ช่วงเวลาการเริ่มต้นภาคการศึกษา เป็นต้น  เมื่อทราบแล้วว่าต้องการเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยใด จึงส่งใบสมัครเข้าเรียน เมื่อมหาวิทยาลัยตอบรับการเป็นนักศึกษาแล้ว นักเรียนจึงจะสมัครขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า - Study Permit) เข้าประเทศแคนาดาเพื่อการศึกษา

          ดิฉันจะนำเสนอข้อมูลและขั้นตอนต่างๆ เพื่อวางแผนมาเรียนที่ประเทศแคนาดาค่ะ


ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อตัดสินใจไปเรียนที่ประเทศแคนาดา

         เมื่อมีการวางแผนไปเรียนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตาม ท่านควรคำนึงถึงรายจ่ายที่  จะเกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมเงินส่งลูกมาเรียนที่แคนาดาประมาณปีละ 800,000  - 1,200,000 บาท  (ประมาณการณ์จากอัตราค่าใช้จ่ายจริง ขึ้นอยู่กับสถาบันที่เลือกศึกษา และการดำเนินชีวิตของนักเรียน) ในที่นี้ขอแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 รายการ ดังนี้


1.  ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสมัครเรียน

         ก่อนจะได้เดินทางไปเรียนที่แคนาดา ท่านจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้สำหรับการดำเนินการต่างๆ ดังนี้
             -  ค่าสมัครเข้าเรียนเป็นนักศึกษา ประมาณ 50 – 150 ดอลล่าร์แคนาดา ต่อสถานศึกษา
             -  ค่าส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ประมาณ 500 – 1,000 บาท
             -  ค่าสอบวัดระดับต่างๆ เช่น GMAT, GRE, SAT, TOEFL, IELTS  เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการสมัครเข้าเรียน ประมาณ 100 – 200 ดอลล่าร์แคนาดา


2.  ค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพในแคนาดา

     2.1   ค่าเล่าเรียน (ต่อปี)
 

รัฐในแคนาดา

ค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษา

(ดอลล่าร์แคนาดา)

         Newfoundland
         Prince Edward Island
         Nova Scotia
         New Brunswick
         Quebec
         Ontario
         Manitoba
         Saskatchewan
         Alberta
         British Columbia

                      8,800
                    11,600
                      8,540 - 14,790
                      9,971 - 15,215
                    14,615 - 17,762
                      5,200 - 32,075
                      6,260 - 13,534
                    13,782 - 17,618
                      9,440 - 18,710
                    12,500 - 23,300

* ข้อมูลจาก Association of Universities and Colleges of Canada (ค.ศ. 2013 – 2014)
** 1 ดอลล่าร์แคนาดา เท่ากับ 30 บาท (โดยประมาณ)
*** จำนวนเงินค่าเล่าเรียนจะขึ้นอยู่กับชื่อเสียงและคุณภาพของสถาบันการศึกษา

      2.2  ค่าที่พัก
 

แบบที่พัก

ค่าเช่า ต่อเดือน

(ดอลล่าร์แคนาดา)

      Homestays (ขึ้นอยู่กับว่าจะให้รวมค่าอาหารหรือไม่)
      หอพักนักศึกษา/ การแบ่งเช่าบ้านนอกสถานศึกษา

400 - 800
250 - 750

 

     2.3   ค่าใช้จ่ายทั่วไปในการครองชีพ  (ข้อมูลจากเงินค่าใช้จ่ายที่สำนักงาน ก.พ. จ่ายให้นักเรียนทุนฯ ในปัจจุบัน)
 

ค่าใช้จ่ายทั่วไป

(ดอลล่าร์แคนาดา)

      ค่าใช้จ่ายรายเดือน แบ่งได้คร่าวๆ ดังนี้

        - ค่าเช่าบ้าน
        - ค่าอาหารโดยเฉลี่ย
        - ค่าโทรศัพท์มือถือ/internet
        - ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ
        - ค่าบันเทิง กีฬา สันทนาการ

      ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน (ต่อปี)

         1,450

                            450 - 550
                            300
                            50
                            100
                            100

         1,150

หมายเหตุ  ในเมืองใหญ่ๆ เช่น นครโทรอนโต นครแวนคูเวอร์ นครมอนทรีออล จะมีค่าครองชีพสูงกว่าในเมืองอื่นๆ  และท่านควรคำนึงถึงค่าเครื่องนุ่งห่มกันหนาวและรองเท้าประมาณ 350 – 500 ดอลลาร์แคนาดา สำหรับการอยู่ในแคนาดาปีแรกด้วย
 

3.   ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
 

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

(ดอลล่าร์แคนาดา)

      ค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน (ไป-กลับ)
      ค่าประกันสุขภาพ
      ค่า Study Permit
      ค่า CAQ (สำหรับผู้ไปศึกษาในรัฐควิเบก)

                1,500 - 2,500
                1,000 – 1,200 ต่อปี
                150
                108


ภาคการศึกษา

      การเริ่มปีการศึกษาในมหาวิทยาลัยแคนาดา จะเริ่มในเดือนกันยายนของทุกปี แต่ละภาคการศึกษา มีระยะเวลาดังนี้

      ภาคฤดูใบไม้ร่วง  ระหว่างเดือน กันยายน – ธันวาคม

      ภาคฤดูหนาว  ระหว่างเดือน มกราคม – เมษายน

      ภาคฤดูร้อน  ระหว่างเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม (ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย)
 

ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร

       มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะเริ่มเปิดรับสมัคร ตั้งแต่เดือนตุลาคม จนถึงเดือนมกราคม  ตัวอย่าง นักศึกษา ปีการศึกษาที่ 1 เริ่มเปิดเรียนเดือนกันยายน 2014  จะเริ่มส่งใบสมัครเรียนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม       ปี 2013 ถึงเดือนมกราคม ปี 2014  และกำหนดการส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาหลังจากปิดรับสมัคร  1 – 2 เดือน  (เวลาของการเปิด-ปิดรับสมัคร และการส่งเอกสารฯ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย)


ขั้นตอนการไปศึกษาที่ประเทศแคนาดา

1.  เลือกหลักสูตร และมหาวิทยาลัย

      ผู้สมัครควรเตรียมตัวล่วงหน้าประมาณ 1 ปี เพื่อหาข้อมูลและสมัครเข้าศึกษาให้ทันภาคการศึกษาที่จะเข้าศึกษา  ข้อมูลสถานศึกษาหาได้ที่

Association of Universities and Colleges of Canada
        http://www.aucc.ca/canadian-universities/study-programs/
        http://www.aucc.ca/canadian-universities/our-universities/
Canadian Information Centre for International Credentials
        http://cicic.ca/664/directory-of-universities-colleges-and-schools-in-canada.canada

2.  การสมัคร

     2.1  ขั้นตอน

             -  หลังจากเลือกหลักสูตร และมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาได้แล้ว จะต้องสมัครกับมหาวิทยาลัยโดยตรง (การตอบรับการเข้าศึกษาจะใช้เวลาพิจารณา 4-6 เดือน)  หลังจากนั้นจะต้องสมัครผ่านศูนย์กลางรับสมัครออนไลน์ กรณีบางรัฐมีศูนย์กลางรับสมัครเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐ ดังนี้

Alberta Post-Secondary Application System (ApplyAlberta) https://www.applyalberta.ca/pub/

British Columbia's Post-secondary Application Service (ApplyBC) https://applybc.ca/

Manitoba  จะต้องสมัครกับสถาบันการศึกษา แต่ละแห่งโดยตรง โดยหาแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.gov.mb.ca/ie/study/index.html

New Brunswick  จะต้องสมัครกับสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งโดยตรง โดยหาแหล่งข้อมูลได้จาก  http://www2.gnb.ca/content/gnb/en/departments/post-secondary_education_training_and_labour/post-secondary_education.html

Nova Scotia (EduNova)  จะต้องสมัครกับสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งโดยตรงโดยหาแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.edunova.ca/

Ontario Universities’ Application Centre (OUAC)  http://www.ouac.ca/

Prince Edward Island จะต้องสมัครกับสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งโดยตรง โดยหาแหล่งข้อมูลได้จาก  http://www.opportunitiespei.ca/studying

Quebec จะต้องสมัครกับสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งโดยตรง โดยหาแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.gouv.qc.ca/portail/quebec/international/general/etudes/universite/universite/lang=en

Saskatchewan จะต้องสมัครกับสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งโดยตรง โดยหาแหล่งข้อมูลได้จาก  http://www.saskimmigrationcanada.ca/studying

             -  ตรวจสอบช่วงเวลาการเปิด-ปิดรับสมัคร และระยะเวลาการยื่นเอกสาร

             -  กรณีผู้สมัครได้รับการตอบรับเข้าศึกษามากกว่าหนึ่งสถาบันการศึกษา ผู้สมัครควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจะเลือกศึกษาที่ใด หลังจากนั้นควรแจ้งตอบรับ/ปฏิเสธการเข้าศึกษากับสถาบันการศึกษาด้วย

     2.2  คุณสมบัติด้านการศึกษา

             -  ผู้สมัครจะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับ Grade 12 เทียบเท่ามัธยมศึกษา 6 หรือระดับการศึกษาสูงกว่า

             -  ในแต่ละภาควิชาที่สมัครเรียนนั้น ผู้สมัครจะต้องเคยเรียนวิชาหรือมีผลงานที่ภาควิชานั้นกำหนด เช่น เลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้สมัครจะต้องเคยเรียนคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์ และ เคมี หรือเลือกเรียนดนตรี ผู้สมัครจะต้องส่งผลงานการเล่นดนตรี หรือการร้องเพลง เป็นต้น (แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีข้อกำหนดต่างกัน)

     2.3  คุณสมบัติด้านภาษา

             -  ไม่ว่าจะเลือกเรียนหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส ผู้สมัครต้องมีผลการสอบวัดระดับภาษาในสถาบันภาษาที่สถาบันการศึกษากำหนด

             -  แต่ละสถาบันการศึกษาจะกำหนดรับผลวัดระดับภาษาอังกฤษจากสถาบันภาษาต่างๆ เช่น TOEFL, IELTS, CanTest, CAEL, MELAB เป็นต้น และอยู่ในระดับคะแนนของแต่ละสาขาวิชาที่สถาบันการศึกษานั้นกำหนด

             -  สถาบันการศึกษาจะกำหนดรับผลวัดระดับภาษาฝรั่งเศสจาก Test de français international (TFI) และอยู่ในระดับคะแนนของแต่ละสาขาวิชาที่สถาบันการศึกษานั้นกำหนดไว้

             -  บางสถาบันการศึกษามีหลักสูตรภาษาเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานั้น หากผู้สมัครมีคะแนนผลวัดระดับภาษาไม่ถึงตามที่สถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนดไว้ ผู้สมัครอาจสมัครเข้าเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ (ESL) หรือภาษาฝรั่งเศสก่อน  โดยสถาบันการศึกษานั้นมีเงื่อนไขว่าผู้สมัครต้องผ่านเกณฑ์ภาษาตามที่สถาบันการศึกษานั้นกำหนด จึงจะสามารถสมัครเข้าเรียนเป็นนักศึกษาในสถาบันการศึกษานั้นต่อไปได้

     2.4  เอกสารประกอบการสมัคร

             -  ประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา 6 หรือเทียบเท่า หรือสูงกว่า

             -  รายงานผลการศึกษา (Transcript)

             -  รายงานผลวัดระดับภาษาอังกฤษ หรือภาษาฝรั่งเศส

             -  บางหลักสูตรนักศึกษาจะต้องเขียนเรียงความ หรือแสดงผลงาน ให้สถาบันศึกษาด้วย

             -  เอกสารอื่นๆ ที่มีการรับรองการแปลเป็นภาษาอังกฤษ

3.  การขอใบอนุญาตศึกษาในแคนาดา (Study Permit) และการขอรับการตรวจลงตรา (Visa) เข้าประเทศแคนาดา

     3.1  กรณีที่สมัครเข้าศึกษาในรัฐต่างๆ (ยกเว้นรัฐควิเบก)
          

             เมื่อได้รับการตอบรับเป็นนักศึกษาในสถาบันศึกษาแล้ว ผู้สมัครจะต้องเขียนคำร้องขอรับใบอนุญาตศึกษาในประเทศแคนาดา (Study Permit) จากสถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย  ในกรณีที่ยื่นคำร้องครั้งแรกนักศึกษาจะได้รับการตรวจลงตรา (Visa) เข้าแคนาดาโดยอัตโนมัติ

             การขอ Study Permit และ Visa ผู้สมัครจะต้องเผื่อเวลาสำหรับการพิจารณาของสถานเอกอัครราชทูตแคนาดาฯ ด้วย เนื่องจากอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม หากไม่เผื่อเวลาไว้อาจจะไม่สามารถเข้าเรียนได้ทันวันเปิดภาคเรียน

     3.2   กรณีที่สมัครเข้าศึกษาในรัฐควิเบก

             เมื่อได้รับการตอบรับการเข้าศึกษาจากสถาบันศึกษาแล้ว ผู้สมัครจะต้องสมัครขอรับ Québec Acceptance Certificate (CAQ) การสมัครขอรับ CAQ สามารถสมัคร online ได้ เอกสารที่ใช้ประกอบการสมัคร คือ ใบตอบรับการเข้าศึกษาจากมหาวิทยาลัย หลักฐานการเงินเพื่อยืนยันค่าเล่าเรียนและการดำรงชีวิตในประเทศแคนาดา การประกันสุขภาพ เป็นต้น  หลังจากได้รับ CAQ แล้วผู้สมัครจึงจะยื่นคำร้องขอ Study Permit และ Visa ได้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.immigration-quebec.gouv.qc.ca/en/electronic-services/caq-electronic/index.html

     3.3  เอกสารที่ใช้ประกอบการสมัคร

              -  ใบตอบรับการเข้าศึกษาจากสถาบันศึกษา

              -  หลักฐานการเงินเพื่อยืนยันว่ามีเงินเพื่อใช้จ่ายค่าเล่าเรียนและการดำรงชีวิตในแคนาดา

              -  หนังสือผู้มีอำนาจปกครอง (Custodianship Declaration – Custodian for Minors Studying in Canada – IMM 5646) สำหรับนักเรียนอายุต่ำกว่า 18 ปี

              -  Québec Acceptance Certificate (CAQ) (สำหรับผู้สมัครที่จะศึกษาในรัฐควิเบก)

              -  หนังสือเดินทาง (Passport)

              -  รูปถ่าย 2 ใบ

              -  ใบคำร้องขอ Study Permit   http://www.cic.gc.ca/english/information/applications/student.asp

              -  ค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้อง 125 ดอลลาร์แคนาดา

              -  หลังจากยื่นคำร้องขอ Study Permit แล้ว เจ้าหน้าที่อาจขอให้ผู้สมัครส่งผลการตรวจร่างกาย และ หรือ ส่งรายงานประวัติอาชญากรรมเพิ่มเติม (Police Clearance Certificate)

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.cic.gc.ca/english/study/study.asp

     3.4  ระยะเวลาในการได้รับ Study Permit และ Visa

             หากไม่มีปัญหาเรื่องเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องในการยื่นคำร้อง ฝ่ายแคนาดาจะใช้เวลาใน   การพิจารณาอย่างน้อย 9 สัปดาห์  ดังนั้นผู้สมัครควรเผื่อเวลาไว้สำหรับขั้นตอนนี้ เพื่อมีเวลาพอที่จะเดินทางมาศึกษาทันวันเปิดภาคการศึกษา

 
4.  การหาที่พักอาศัย

            ระหว่างที่รอการตอบรับจากสถาบันศึกษา ผู้สมัครอาจใช้เวลาหาที่พักอาศัยไปพลางๆ ก่อน  หลังจากที่ได้รับการตอบรับจากสถาบันการศึกษาแล้ว ผู้สมัครจึงสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าจะเช่าที่พักที่ไหน และในราคาเท่าไหร่  การหาที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษามีหลายรูปแบบ ดังนี้

     4.1  การเช่าหอพักในสถาบันการศึกษา

            สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะมีหอพัก (Residence on Campus) ให้นักศึกษาเช่าพัก  เมื่อผู้สมัครได้รับการตอบรับเป็นนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาแล้ว ก็สามารถส่งใบสมัครขอเช่าหอพักของสถาบันการศึกษาได้ ขั้นตอนนี้ผู้สมัครจะต้องรีบดำเนินการทันที เนื่องจากมีผู้ขอเช่ามากกว่าจำนวนหอพักที่เปิด  ให้เช่า เมื่อได้รับการตอบรับให้เช่าแล้ว ผู้เช่าจะดำเนินการตามกฎที่สถาบันการศึกษากำหนด หอพักในสถาบัน การศึกษาอาจมีเปิดให้เลือกเช่าหลายแบบ เช่น ห้องพักมีห้องครัวและห้องน้ำส่วนตัว ห้องพักที่ใช้ห้องครัวร่วมกัน  ห้องพักรวมอาหาร เป็นต้น  อนึ่ง ระหว่างรอการตอบรับผู้สมัครอาจค้นหาที่พักจากแหล่งอื่นด้วยก็จะเป็นการไม่เสียโอกาส และอาจต้องจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าเพื่อเป็นค่ามัดจำห้อง
 

     4.2  การเช่าห้องพัก Homestay

            เจ้าของบ้านแบ่งห้องนอนในบ้านให้เช่า โดยผู้เช่าสามารถใช้ห้องครัว ห้องน้ำ หรือห้องนั่งเล่น ร่วมกับเจ้าของบ้าน บางบ้านมีห้องน้ำส่วนตัวให้กับผู้เช่าใช้ต่างหาก บางบ้านให้เช่าพร้อมอาหาร 2 หรือ 3 มื้อ บางบ้านมีสัตว์เลี้ยง มีเด็ก บางบ้านเจ้าของบ้านอาจอยู่เพียงลำพัง หรือบางบ้านแบ่งให้คนเช่ามากกว่า 1 ราย ดังนั้น ผู้สมัครจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า Homestay ลักษณะใดเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด โดยสามารถหา Homestay ทั่วประเทศแคนาดาได้ ดังนี้

             (1)  http://www.homestayfinder.com/

             (2)  http://www.homestaybooking.com/

             (3)  http://www.canadahomestayinternational.com/

             (4)  http://www.homestayconnection.ca/

             (5)  http://www.canadahomestayagency.com/

             (6)  http://www.canadahomestaynetwork.ca/

             (7)  http://www.homestaybay.com

สามารถหา  Homestay จากเฉพาะนครใหญ่ในแคนาดา ดังนี้

กรุงออตตาวา

             (1)  http://www.ottawahomestaysearch.com/

             (2)  http://www.capitalhomestay.com/

             (3)  http://www.ottawahomestay.org/

นครโทรอนโต

             (1)  http://www.torontohomestaysearch.com/

             (2)  http://www.homestayservices.ca/

             (3)  http://www.torontohomestays.org/

             (4)  http://www.homestayplus.ca/

นครแวนคูเวอร์

             (1)  http://www.harmonyhomestay.com/

             (2)  http://www.vancouverhomestay.com/

             (3)  http://www.qualityhomestay.com/

             (4)  http://www.northwesthomestay.com/

             (5)  http://www.vancouverinternationalhomestay.com/

นครเอ็ดมอนตัน และนครคัลเกอร์รี่

             (1)  http://www.polarhomestay.ca/

             (2)  http://www.edmontonhomestayagency.com/

             (3)  http://www.homestayagency.com/

             (4)  http://www.homestaycalgary.com/
 

     4.3  การร่วมแบ่งเช่าบ้านกับนักศึกษาอื่นๆ

            บ้านหรืออพาทเมนท์ ที่เจ้าของเปิดให้เช่าทั้งหมด โดยมีนักศึกษาสนใจเช่าร่วมกันกับเพื่อนๆ หรือประกาศหาผู้ร่วมแบ่งเช่าบ้าน โดยบ้านแต่ละหลังอาจมีผู้เช่าตั้งแต่ 2 – 5 คน หรือมากกว่านั้น โดยผู้ร่วมแบ่งเช่าบ้าน จะแบ่งความรับผิดชอบในการเช่า ค่าใช้จ่าย และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของบริเวณบ้านที่ใช้ร่วมกัน
 

     4.4  ข้อพิจารณาในการเช่าที่พัก

             -  ระยะเวลาการเช่า

             -  ระยะเวลาการจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า

             -  ระยะทางระหว่างที่พักและสถาบันการศึกษา เนื่องจากเป็นช่วงใกล้หน้าหนาว ผู้สมัครยังไม่เคยชินกับภูมิประเทศ และสภาพอากาศของเมืองนั้น การมีที่พักอาศัยใกล้กับสถาบันการศึกษาจะช่วยให้ผู้สมัครปรับตัวง่ายขึ้นในด้านการศึกษา สภาพภูมิอากาศ สภาพกูมิประเทศ และด้านการเงิน (ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง)

             -  ค่าเช่ารวม ค่าน้ำ/ ค่าไฟ/ ค่าโทรศัพท์/ Cable TV/ Internet/ การใช้เครื่องซัก-อบผ้า หรือไม่
 

    4.5  ข้อดีและข้อเสียของการอยู่หอพัก การร่วมแบ่งเช่าบ้าน และ Homestay
 

การอยู่หอพัก

การร่วมแบ่งเช่าบ้าน

Homestay

    ข้อดี

     - ปลอดภัย

     - ใกล้มหาวิทยาลัย

     - ถ้าเลือกหอพักที่มีบริการอาหาร ก็ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องใช้ในครัว

     - มีความเป็นส่วนตัว

    ข้อดี

     - ถูก

     - ได้พบเพื่อนใหม่

     - ไม่โดดเดี่ยว

     - ได้เรียนรู้ประสบการณ์และวัฒนธรรมใหม่

     - มีโอกาสพัฒนาด้านภาษาเร็ว

    ข้อดี

     - ได้เรียนรู้ประสบการณ์และวัฒนธรรมใหม่

     - ได้เข้าใจและเห็นวิถีชีวิตของครอบครัวอื่น

     - ไม่โดดเดี่ยว

     - มีโอกาสพัฒนาด้านภาษาเร็ว

     - ไม่ต้องจ่ายค่าซ่อมแซมบ้าน หรืออุปกรณ์ใช้ในครัว

    ข้อเสีย

     - แพง

     - มีกฎระเบียบในสัญญามาก

     - ไม่มีความยืดหยุ่น เช่น วันจ่ายค่าเช่า เป็นต้น

     - มีสัตว์เลี้ยงไม่ได้

 

    ข้อเสีย

     - ปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น การไม่รักษาความสะอาด ปัญหาเรื่องค่าเช่า กรณีผู้แบ่งเช่ารายอื่นจ่ายค่าเช่าไม่ตรงเวลา หรือไม่จ่ายค่าเช่า

     - เมื่อมีปัญหาต่างๆ แล้ว หากแก้ไขไม่ได้ก็จะต้องอดทนจนกว่าสัญญาเช่าจะหมด

     - ไม่มีความเป็นส่วนตัว

    ข้อเสีย

     - มีความเป็นส่วนตัวน้อย

     - หากมีปัญหาใดๆ ต้องกล้าเจรจากับเจ้าของบ้าน

     - ไม่อิสระ เพราะเจ้าของบ้านอาจจะไม่อนุญาตให้มีแขกหรือเพื่อนเข้ามาในบ้าน

 

     4.6  ข้อควรระวัง

             -  กรณีหาที่พักทางอินเตอร์เน็ทจากประเทศไทย เป็นเรื่องที่ต้องระวังมาก เนื่องจากผู้สมัครไม่เคยเห็นสถานที่ เมือง และระบบการคมนาคม จึงไม่ทราบว่าบ้านหรือที่พักที่จะเช่านั้นเป็นอย่างไร ห่างไกลจากสถาบันศึกษาแค่ไหน จึงควรสอบถามในรายละเอียดเกี่ยวบ้านเช่าให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจเช่า

             -  เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง นักศึกษาไม่ควรจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าก่อนลงนามสัญญาเช่า และควรตกลงกับผู้ให้เช่าในการจ่ายค่าเช่าส่วนที่เหลือเมื่อเดินทางไปถึงที่พัก

             -  ต้องขอใบเสร็จสำหรับการจ่ายเงินทุกครั้ง

 
5.  การเตรียมตัวเพื่อมาอยู่ในประเทศแคนาดา

             -  ประเทศแคนาดาใช้ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นภาษาหลัก ถึงแม้ว่านักศึกษามีความประสงค์จะมาเรียนภาษาก่อนเข้าเรียนหลักสูตรอื่นก็ตาม ก็ควรจะมีพื้นฐานความรู้ในภาษาที่นักศึกษาจะไปอาศัยอยู่ด้วย

             -  ควรนำต้นฉบับเอกสารต่างๆ เช่น สูติบัตร (ใบเกิด) ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ใบทะเบียนสมรส/หย่า ทรานสคริป ใบประกาศนียบัตร ใบปริญญาบัตร ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) เป็นต้น ส่วนเอกสาร  ที่เป็นภาษาไทยควรมีการรับรองการแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสอย่างถูกต้อง (Certified Translation) นักแปลผู้มีใบอนุญาต (Certified Translator) และเอกสารที่เป็นสำเนาควรได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศมาด้วย เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เอกสารต่างๆ จะเป็นการลำบากและมีค่าใช้จ่ายสูงหากไม่ได้เตรียมเอกสารมาแคนาดาให้พร้อม

             -  หาที่พักล่วงหน้าก่อนเดินทางมาถึง อาจหาเช่าที่พักในระยะสั้นๆ เช่น โรงแรม Homestay    ที่ให้เช่าในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อมีโอกาสหาเช่าที่พักที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเองในระยะยาว

             -  เตรียมเสื้อผ้ากันหนาวมาให้พอเหมาะเมื่อเดินทางมาถึง อย่างไรก็ตาม การหาซื้อเครื่องนุ่งห่มกันหนาวและรองเท้าในแคนาดาจะมีความเหมาะสมกับสภาพอากาศมากกว่า

             -  ผู้สมัครอาจติดต่อขอคำแนะนำจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลในเมืองใกล้เคียง ดังนี้

              (1)    สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา

                       Royal Thai Embassy, 180 Island Park Drive, Ottawa, ON  K1Y 0A2 

                      Tel: 1-613-722-4444  Email: [email protected]

                       Website: http://www.thaiembassy.ca

              (2)    สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์

                       1040 Burrard Street, Vancouver, British Columbia V6Z 2R9

                       Tel. 1-604-687-1143   Fax. 1-604-687-4434

                       E-mail: [email protected] 

                       Website: http://www.thaicongenvancouver.org

 
6.  เมื่อเดินทางถึงแคนาดา

      6.1   การเข้ารายงานตัว/การลงทะเบียนเรียน

             โดยปกติสถาบันการศึกษาจะกำหนดวันเข้ารายงานตัว วันสอบวัดระดับภาษา (หากนักเรียนเข้าเรียนภาษาก่อน) และวันลงทะเบียนเรียนไว้ นักศึกษาจะต้องเข้ารายงานตัวตามวันที่สถาบันการศึกษานั้นกำหนด แต่หากนักศึกษามีปัญหาล่าช้าในการตรวจลงตราเข้าประเทศแคนาดา บางสถาบันการศึกษาก็อาจจะขอผ่อนผันวันเข้ารายงานตัวได้ โดยทั่วไปจะขอรายงานตัวล่าช้าไม่เกิน 1 สัปดาห์

 หลังจากเข้ารายงานตัวแล้ว ทางสถาบันการศึกษาจะจัดทำบัตรนักศึกษาให้เพื่อนักเรียนสามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ ระยะเวลาในการได้รับบัตรนักศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการศึกษา บางสถาบันฯ สามารถออกบัตรนักศึกษาไม่เกิน 2 วัน บางสถาบันฯ ใช้เวลาถึง 3 สัปดาห์

      6.2   การสอบวัดระดับภาษา (Placement test)

              เมื่อนักเรียนสมัครเข้าเรียนภาษาเพื่อเตรียมพร้อมก่อนสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรอื่นๆ ต่อไป สถาบันการศึกษาจะวัดระดับภาษาของนักเรียนเพื่อจัดให้นักเรียนเข้าเรียนภาษาในระดับที่เหมาะสม

      6.3   การเปิดบัญชีธนาคาร

              นักศึกษาต้องใช้บัตรนักศึกษาที่สถาบันศึกษาออกให้ในการเปิดบัญชีธนาคาร อย่างไรก็ดี เนื่องจากการออกบัตรนักศึกษาอาจใช้เวลานาน ดังนั้น ขอแนะนำให้นักศึกษานำเงินติดตัวมาในรูปแบบ Bank Draft  ไม่ควรนำเงินสดติดตัวมามาก ควรนำเงินสดมาพอสำหรับจ่ายค่าเช่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าเครื่องนุ่งห่มและของใช้จำเป็นส่วนตัว เท่านั้น

      6.4   การโอนเงินจาก/ไปประเทศไทย

             เมื่อนักเรียนเปิดบัญชีธนาคารแล้ว ครอบครัวทางเมืองไทยสามารถส่งเงินเข้าธนาคาร โดยวิธี Wire Transfer โดยแต่ละธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมไม่ต่างกันมาก และนักเรียนก็สามารถส่งเงินไปเมืองไทยโดยวิธีเดียวกัน

      6.5   การสื่อสาร

               -  ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารหลายรูปแบบ และรวดเร็ว อาจจะเสียค่าใช้จ่ายเล็กน้อย หรือไม่เสียเลย เช่น ติดต่อโดย Skype  อีเมล  เป็นต้น โดยในทุกสถาบันการศึกษาจะมีบริการอินเตอร์เน็ท Wifi ให้นักเรียนใช้ฟรี

               -  บัตรโทรศัพท์โทรต่างประเทศ (International Calling Card) ในกรณีไม่มีอินเตอร์เน็ทใช้

      6.6   การรายงานตัวต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยในแคนาดา

              เพื่อประโยชน์ในการดูแลสวัสดิภาพของนักศึกษาหากเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ตามสถานที่ติดต่อข้อ 5
 

 7.    การต่ออายุ Study Permit และ Visa

        เมื่อได้รับใบอนุญาตเพื่อเข้าศึกษาในประเทศแคนาดา (Study Permit) และการตรวจลงตราเข้าประเทศแคนาดา (Visa) แล้ว นักเรียนจะต้องตรวจสอบดูวันหมดอายุของ Study Permit และ Visa ด้วย เพื่อเตรียมเอกสารให้พร้อมสำหรับการขอต่ออายุ Study Permit และ Visa ในครั้งต่อไป สามารถขอต่ออายุได้โดยทาง Online และโดยส่งเอกสาร ควรจะขอต่ออายุ Study Permit และ Visa ล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนวันหมดอายุ

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการขอต่ออายุ Study Permit และ Visa มีดังนี้

               -  ใบคำร้องขอต่อ Study Permit และ Visa  http://www.cic.gc.ca/english/information/applications/extend-student.asp

               -  ใบเสร็จรับเงินที่มีตราประทับ (IMM5401)

               -  หนังสือผู้มีอำนาจปกครอง (Custodianship Declaration – Custodian for Minors Studying in Canada – IMM 5646) สำหรับนักเรียนอายุต่ำกว่า 18 ปี

               -  สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หน้าที่มีรายละเอียดเลขที่หนังสือเดินทาง วันหมดอายุ ชื่อ-นามสกุล วันเกิด และหน้าที่มีตราประทับวันที่ล่าสุดที่เข้าประเทศแคนาดา

               -  ใบรับรองการศึกษาจากฝ่ายทะเบียนของสถาบันศึกษา และสำเนาผลการศึกษาย้อนหลัง    2 ภาคการศึกษา

               -  Québec Acceptance Certificate (CAQ) สำหรับผู้ที่ศึกษาในมณฑลควิเบก

               -  หลักฐานการเงินเพื่อยืนยันว่ามีเงินเพื่อใช้จ่ายค่าเล่าเรียนและการดำรงชีวิตในแคนาดา

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก  http://www.cic.gc.ca/english/study/study-extend.asp


8.    การต่ออายุ Certificat d’Acceptation du Québec (CAQ)

       กรณีนักเรียนที่ศึกษาที่มนฑลควิเบก จะต้องตรวจสอบวันหมดอายุของ CAQ ด้วย หากหมดอายุก่อน Study Permit นักเรียนจะต้องขอยื่นต่ออายุ CAQ ล่วงหน้า 3 เดือน ก่อน CAQ หมดอายุ

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการขอต่ออายุ CAQ มีดังนี้

               -  รูปถ่าย (ขนาด 35 mm X 45 mm)

               -  ค่าธรรมเนียม

               -  สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ที่ยังไม่หมดอายุ หน้าที่มีรายละเอียดเลขที่หนังสือเดินทาง วันหมดอายุ ชื่อ-นามสกุล วันเกิด

               -  ใบรับรองการศึกษาจากฝ่ายทะเบียนของสถาบันศึกษา ระบุว่าเป็นนักศึกษาเต็มเวลา และจำนวนหน่วยกิตที่เรียน

               -  ต้นฉบับรายงานผลการศึกษา

               -  หากไม่ได้ศึกษาเต็มเวลา จะต้องมีหนังสือชี้แจงและเอกสารรับรอง

               -  หลักฐานการเงินเพื่อยืนยันว่ามีเงินเพื่อใช้จ่ายค่าเล่าเรียนและการดำรงชีวิตในแคนาดา

               -  หลักฐานการประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองจนถึงวันหมดอายุ CAQ รวมถึงประกันสุขภาพในสถาบันการศึกษา

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก  http://www.immigration-quebec.gouv.qc.ca/en/immigrate-settle/students/extending-stay/renewing-authorizations/index.html

 
9.    การทำงานไปด้วยระหว่างที่ศึกษาในแคนาดา

       นักศึกษาต่างชาติที่มีความประสงค์ทำงานในระหว่างเรียน บางกรณีจะต้องขอสมัครใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ด้วย โดยแคนาดาแบ่งการทำงานในระหว่างเรียนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

       9.1    ทำงานในสถาบันการศึกษา  (Work on campus)

               นักเรียนที่จะทำงานในกรณีนี้ได้จะต้อง เป็นนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และมี Study Permit การทำงานในสถาบันศึกษานักเรียนไม่ต้องยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จาก Citizenship and Immigration Canada  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.cic.gc.ca/english/study/work-oncampus.asp

       9.2    ทำงานนอกสถาบันการศึกษา  (Work off campus)

               นักเรียนที่จะทำงานในกรณีนี้ได้จะต้อง เป็นนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา การทำงานนอกสถาบันศึกษานักเรียนต้องยื่นคำร้องขอ Work Permit และจะต้องได้รับ Work Permit ก่อนจึงจะสามารถทำงานได้ โดยในระหว่างภาคการศึกษาปกติจะอนุญาตให้ทำงานได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่จะทำงานได้เต็มเวลาในช่วงปิดภาคเรียนในฤดูร้อน หรือปิดภาคเรียนระยะสั้นในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ เมื่อใดก็ตามที่นักเรียนไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา หรือมีผลการเรียนไม่ดี จะต้องส่งใบอนุญาตทำงานคืนให้กับ Citizenship and Immigration Canada  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.cic.gc.ca/english/study/work-offcampus.asp

       9.3    หลักสูตรการศึกษาที่ต้องมีการฝึกงาน  (Work as a co-op student or intern)

               บางหลักสูตรการศึกษาจะกำหนดให้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรด้วย โดยนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรนั้น จะต้องจบการศึกษาได้เมื่อนักเรียนมีการฝึกงานครบตามจำนวนชั่วโมงการทำงานที่หลักสูตรกำหนดไว้ นักเรียนที่จะทำงานในกรณีนี้ได้จะต้องยื่นคำร้องขอ Work Permit ก่อนเข้าทำงานและจะต้องมี Study Permit ที่ไม่หมดอายุ  งานที่ทำจะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษา พร้อมกันนี้ จะต้องได้รับหนังสือรับรองการทำงานจากสถาบันศึกษาด้วย  นักเรียนจะใช้เวลาฝึกงานได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการศึกษา  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.cic.gc.ca/english/study/work-coop.asp


10.    ทุนการศึกษา

          ประเทศแคนาดามีรายได้จากนักศึกษาต่างชาติสูงมาก  จึงทำให้มีโครงการมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติ เพื่อจูงใจให้มีผู้สนใจมาศึกษาในแคนาดามากขึ้น  ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติมีมากมาย โดยแบ่งได้ ดังนี้

               -  International Undergraduate Scholarship in Canada

               -  International Graduate Scholarship in Canada

 
***********************

มัทนา เขาแก้ว
ฝ่ายการศึกษา
Email :[email protected]
20  มีนาคม 2557